Tuesday, January 1, 2013

สนธิสัญญามาสทริกท์

สหภาพยุโรป ( European Union: EU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายใต้สนธิสัญญามาสทริชต์ แทนที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)
สหภาพยุโรปมีอิทธิพลสูงต่อเวทีโลก เนื่องด้วยมีประชากรกว่า 500 ล้านคนและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ คิดเป็นกว่า 30% ของโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม



สหภาพยุโรป (The European Union)

Tความเป็นมาของศัพท์ “สหภาพยุโรป”
            ศัพท์คำว่า สหภาพยุโรป  นั้น  ปรากฏอย่างเป็นทางการในที่ประชุมสุดยอดของบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกประชาคม ยุโรป ณ กรุงปารีส ในปี ค.ศ 1972 โดยที่ประชุมในครั้งนั้นได้ตั้งจุดมุ้งหมายเอาไว้ว่า  จุดหมายหลักคือการพัฒนาด้วยความเคารพและยึดมั่นในสนธิสัญญาที่ประเทศสมาชิก ได้ลงนามไว้  ในอันที่จะกระทำความสัมพันธ์อันซับซ้อนทั้งมวลระหว่างประเทศให้กลายเป็น สหภาพยุโรป  ต่อมาได้มีการระบุแนวความคิดดังกล่าวไว้ในบทอารัมภกถาของสัญญาจัดตั้งตลาด เดียวแห่งยุโรป  แต่ไม่ปรากฏในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป  โดยมาตรา A ของสนธิสัญญาดังกล่าวได้ระบุข้อความที่เกี่ยวกับสหภาพไว้แทนที่ว่า  สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นสัญญาลักษณ์ของก้าวใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์สหภาพที่ มีความสัมพันธ์ไกล้ชิดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ของประชาชาติยุโรป โดยการตัดสินใจใดๆ ของสหภาพจะกระทำใกล้ชิดกับเมืองของยุโรปให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ในกระบวนการดังกล่าวนี้ สหภาพควรจะจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างประขาชาติยุโรปให้แสดงถึงความมีเอกภาพ และความเป็นปึกแผ่น
            อย่างไรก็ดี  ความพยายามในการกำหนดรูปแบบของสหภาพยุโรปอย่างชัดเจนทั้งจากแวดวงการเมือง และจากนักวิชาการประสบความสำเร็จอยู่ในวงจำกัด การตรวจสอบความหมายของคำว่า  สหภาพ  หรือจุดมุ้งหมายกันตามแบบของนักวิชาการยังไม่รับการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ ในทางการเมือง ดังจะเห็นได้จาก คำประกาศแห่งสตุตการ์ท ค.ศ 1986  ซึ่งมีการระบุไว้เพียงจุดมุ้งหมายทั่วไปในการบรรลุถึงการเป็นสหภาพยุโรป อาทิเช่น หลักการประชาธิปไตยและการเคารพในกฎหมายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น มีข้อสังเกตว่า  ในเอกสารทั้ง2ฉบับได้ว่างแนวทาง 2 ในการพัฒนาสหภาพยุโรปไว้ กล่าวคือประเทศสมาชิกจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงการเป็นสหภาพยุโรปโดยอาศัย หลัก2ประการคือ
  • หลักของประชาคมยุโรปที่ทำงานไปตามระเบียบของตนเอง และ
  • หลักความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิก  
จะเห็นได้ว่าหลักการดังกล่าวเหล่านี้ชี้ชัดว่า  พัฒนาการของประชาคมยุโรปจะดำเนินควบคู่กันไประหว่างการบูรณาการและความร่วม มือระหว่างรัฐบาลชาติสมาชิกรูปแบบเดียวกันนี้  ปรากฏอยู่ในมาตรา A ของสนธิสัญญามาสทริกท์ ซึ่งระบุว่าสหภาพยุจะก่อตั้งขึ้นบนรากฐานของประชาคมยุโรป  ซึ่งเพิ่มด้วยนะโยบายและรูปแบบที่จัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาฉบับนี้  นอกจากนี้แนวคิดเกี่ยวกับสหภาพยุโรปอีกประการหนึ่งคือ  แนวคิดเรื่อง ระบบสหพันธ์  ยังปรากฏอยู่ในร่างสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพยุโรป ค.ศ 1984 ทั้งนี้ในร่างฉบับดังกล่าวได้รัฐสภายุโรปมีบทบาทในการวางหลักการจุดมุ้งหมาย และกำหนดนิยามของสถาบันต่างๆ ของสหภาพยุโรปตามแนวทางของสหพันธืนิยม อย่างไรก็ดีรูปแบบของ Spinelli ดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นแบบอย่างของสหภาพยุโรปที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ 1993
            หลังจากที่การให้สัตยาบันสนธิสัญญามาสทริกท์ประสบกับปัญหาต่างๆ ในประเทศสมาชิกหลายประเทศ  ทำให้เกอดเสียงิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากเกี่ยวกับแนวคิดแบบสหพันธ์นิยม  การให้คำนิยามสภาพยุโรปว่าเป็นสมาคมของรัฐสมาชิกโดยศาลรับธรรมนูญของเยอรมนี ในคำพิพากษาว่าด้วยสนธิสัญญามาสทริกท์ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ  1993 นั้น  แม้ว่าจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้มากมายก็ตาม  แต่ก็มีผลในแนวคิดใหม่การอภิปรายเกี่ยวกับขอบเขตของการรวมยุโรป และสหภาพยุโรป

สนธิสัญญามาสทริกท์ว่าด้วยสหภาพยุโรป
            ในปี ค.ศ  1991 ที่ประชุมสุดยอดของประชาคมยุโรป  ณ  เมืองมาสทริกท์ได้วางแนวคิวสหภาพยุโรปไว้ในสัญญาฉบับใหม่  ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่1 พฤศจิกายน ค.ศ 1993 โดยทั่วไป สนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรปที่ได้รับการลงมติอนุมัติจากคณะมนตรียุโรปหรือ ที่ประชุมสุดยอดยุโรปนี้เป็นการรวมเอาข้อกำหนดในทางกฎหมายของนโยบายด้าน ต่างๆ  เข้าไว้ด้วยกัน กล่าวคือ สหภาพยุโรปจะประกอบด้วยสถาบันเสาหลัก3สถาบัน
  • ประชาคมยุโรป  ซึ่งประกอบด้วย  สหภาพศุลกากร ตลาดเดียวแห่งยุโรป นโยบายร่วมด้านการเกษตร  นโยบายด้านโครงสร้างและสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน
  • นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง
  • ความร่วมมือในด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภาย ใน                                                                                                        
                        องค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่ปรากฏในสนธิสัญญาจัดตั้งสหภาพยุโรป  มีดังต่อไปนี้
                        1 มาตรการทั่วไป
                        2 ส่วนแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป  เพื่อจัดตั้งประชาคมยุโรป  ซึ่งรวมถึงสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน  และความเป็นผลเมืองของสหภาพยุโรป
                        3 นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง
                        4  ความร่วมมือในด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภายใน
                        5 มาตราสรุป
                        6  อนุสัญญาและพิธีการที่สำคัญต่างๆ อันเกี่ยวกับการสร้างความเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจและสังคม  นโยบายด้านสังคม  คำอธิบายเกี่ยวกับ CFSP และเอกสารประกอบที่ประเทศสมาชิกจัดทำเกี่ยวกับ  สหภาพยุโรปตะวันตก

No comments :

Post a Comment