อาหารฝรั่งเศส 
เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่ากิชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่กิชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในกิชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็งได้
ถึงแม้ว่ากิชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา
คือขนมอบชนิด หนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ "croissant" ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "จันทร์เสี้ยว" บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)
การทำครัวซ็องจะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry - พัฟเพสทรี) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลง ไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้
การทำครัวซ็องเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทักษะและความอดทน ครั้งหนึ่งอาจจะใช้เวลาหลายวัน
แต่อดีตจะรับประทานเปล่า ๆ ไม่มีส่วนผสมใด ๆ
ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศเบลเยียม ปาเตอาจใช้เป็นไส้พายหรือขนมปังแถว เรียก "ปาเตอ็องครุต" (ฝรั่งเศส: pâté en croûte) หรือใช้อบด้วยแตร์รีนหรือแม่พิมพ์แบบอื่น เรียก "ปาเตอ็องแตรีน" (ฝรั่งเศส: pâté en terrine) ปาเตประเภทที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ "ปาเตเดอฟัวกรา" (ฝรั่งเศส: pâté de foie gras) ทำจากตับของห่านที่ขุนจนอ้วน คำว่า "ฟัวกราอ็องตีเย" (ฝรั่งเศส: foie gras entier) หมายถึง ตับห่านธรรมดาที่ได้รับการปรุงสุกและหั่นเป็นแผ่น ไม่ใช่ปาเต
ส่วนในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฟินแลนด์ ประเทศฮังการี ประเทศสวีเดน และประเทศออสเตรีย ปาเตที่ทำจากตับบางชนิดจะมีลักษณะอ่อนยวบ โดยมากเป็นไส้กรอกที่ใช้ทาได้ ภาษาดัตช์เรียก "leverworst" ภาษาเยอรมันเรียก "leberwurst" ส่วนในสหรัฐอเมริกาเรียก "ลีเวอร์วูสต์" (liverwurst) หรือ "โบรนชวีเจอร์" (braunschweiger) ลีเวอร์วูสต์บางชนิดหั่นได้ ซึ่งในสหรัฐอเมริกานิยมใช้รับประทานคู่กับแซนด์วิช
ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส
การป้อนอาหาร ในการผลิตฟัวกรา (เรียกขั้นตอนนี้ว่า gavage)
ฟัวกรา เทียบกับตับห่านปกติ
องค์การสิทธิสัตว์ทุกแห่ง และองค์การความเป็นอยู่สัตว์เกือบทุกแห่ง ถือว่าขั้นตอนการผลิตฟัวกรานั้นโหดร้าย เนื่องจากการบังคับป้อนอาหาร และผลกระทบต่อสุขภาพจากตับที่ใหญ่ขึ้น
การผลิตฟัวกรานั้นผิดกฎหมายในหลายพื้นที่ (แต่การจำหน่ายฟัวกราที่ผลิตจากที่อื่นนั้นไม่จำเป็นว่าต้องผิดกฎหมาย) ได้แก่
❀นอร์เวย์
❀เนเธอร์แลนด์
❀เดนมาร์ก
❀โปแลนด์ (เคยเป็นผู้ผลิตอันดับ 5 ของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542)
❀ฟินแลนด์
❀เยอรมนี
❀ลักเซมเบิร์ก
❀สวิตเซอร์แลนด์
❀สวีเดน
❀สหรัฐอเมริกา: เมืองชิคาโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (เริ่ม พ.ศ. 2555)
❀สหราชอาณาจักร
❀สาธารณรัฐเช็ก
❀ออสเตรีย (6 ใน 9 รัฐ)
❀อาร์เจนตินา
❀อิตาลี
❀อิสราเอล
❀ไอร์แลนด์
รูปแบบของอาหาร
คำว่าราตาตูย (ratatouille) มาจากคำในภาษาอ็อกซิตันว่า "ราตาตูลยา" (ratatolha) ราตาตูยปัจจุบันพบเห็นได้ในภูมิภาคพรอว็องส์และเมืองนิส มักจะทำในหน้าร้อนโดยใช้ผักในฤดูร้อน ราตาตูลยาสูตรดั้งเดิมจากเมืองนิสนั้นจะใช้เพียงแค่ซุกกีนี มะเขือเทศ พริกหยวกแดงและเขียว หัวหอม และกระเทียม แต่ราตาตูยในปัจจุบันจะมีการใส่มะเขือลงไปในส่วนผสมด้วย
ปกติราตาตูยจะเสิร์ฟเป็นอาหารข้างเคียงกับอาหารหลัก หรือบางครั้งก็เสิร์ฟเป็นอาหารหลักบนโต๊ะอาหาร
No comments :
Post a Comment