Thursday, March 15, 2012

✿mama✿

m a m a
ม่

Photobucket

เป็นเครื่องหมายการค้า ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตโดย บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และจัดจำหน่ายโดย บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด


วั ติ
บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 โดยการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท เพรซิเดนท์ เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ชำนาญทางเทคโนโลยีการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กับบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ผู้รับผิดชอบการตลาดและจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนเบื้องต้น มูลค่า 6 ล้านบาท เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในเครื่องหมายการค้า มาม่า มีสำนักงานใหญ่แห่งแรก ตั้งอยู่ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และโรงงานแห่งแรก ตั้งอยู่ที่เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2516 Photobucket ผู้ถือหุ้นชาวไต้หวัน โอนหุ้นของบริษัทฯ ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ชาวไทย เป็นผู้บริหารต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเริ่มออกผลิตภัณฑ์แรกคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสซุปไก่

พ.ศ. 2518 Photobucket บริษัทฯ เพิ่มเครื่องจักรเป็น 3 ตัว และก่อตั้ง บริษัท เพรซิเดนท์ คอมเมอร์เชียล จำกัด เพื่อเป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์

พ.ศ. 2519 Photobucket เปิดโรงงานแห่งที่สอง ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี, เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้านบาท และเตรียมการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติใหม่เพิ่มเติม

พ.ศ. 2521 Photobucket บริษัท นิสชิน คอนเฟกชันเนอรี จำกัด ถ่ายทอดกรรมวิธีการผลิตขนมปังกรอบ (บิสกิต) ให้แก่บริษัทฯ, สร้างโรงงานผลิตขนมปังกรอบ ภายในบริเวณโรงงานศรีราชา, เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20 ล้านบาท และเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่แรกเปิดทำการตลาดหุ้นในไทย
พ.ศ. 2522 Photobucket ปรับปรุงเครื่องจักร ขยายกำลังการผลิต และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 32.5 ล้านบาท

พ.ศ. 2523 Photobucket เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 37.5 ล้านบาท

พ.ศ. 2524 Photobucket เพิ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ผลิตขนมปังกรอบ และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 40 ล้านบาท

พ.ศ. 2525 Photobucket บริษัทฯ ได้รับรางวัล ผู้ผลิตอาหารยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย (อินเตอร์แนชชันนัล เอเชีย อวอร์ด) สามปีซ้อน (2525-2527)

พ.ศ. 2527 Photobucket ร่วมลงทุนกับ บจก.เมียวโจ้ฟูดส์ เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคุณภาพสูง (พรีเมียม) ในเครื่องหมายการค้า เมียวโจ้

พ.ศ. 2528 Photobucket ร่วมลงทุนกับ บจก.เพรซิเดนท์เบเกอรี เพื่อผลิตขนมปังสด ในเครื่องหมายการค้า ฟาร์มเฮ้าส์

พ.ศ. 2529 Photobucket โรงงานศรีราชาสามารถผลิตได้อย่างเต็มกำลังแล้ว บริษัทฯ จึงปิดโรงงานที่หนองแขม

พ.ศ. 2530 Photobucket บริษัทฯ ได้รับรางวัลประหยัดพลังงาน จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน เนื่องจากสามารถปรับปรุงการผลิต จากระบบให้ความร้อนโดยตรง (ไดเรกต์ ฮีต) เป็นการให้ความร้อนโดยอ้อม (Indirect Heat) ซึ่งส่งผลให้ประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 75 และยังทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอยิ่งขึ้นด้วย

พ.ศ. 2531 Photobucket ร่วมลงทุนกับบริษัทสองแห่งคือ บจก.ไทยมี เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับส่งออกต่างประเทศ และ บจก.ซันโก แมชีเนอรี (ประเทศไทย) เพื่อประกอบเครื่องจักรสำหรับบรรจุภัณฑ์

พ.ศ. 2532 Photobucket ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต, ก่อสร้างโรงงานที่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยมีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มอบสิทธิประโยชน์ให้ และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 60 ล้านบาท

พ.ศ. 2533 Photobucket ก่อตั้ง บริษัท เพรซิเดนท์เดนิชฟูดส์ จำกัด โดยร่วมทุนกับ บจก.เดนิชแฟนซีฟูดส์กรุ๊ป แห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อผลิตขนมคุกกี ในเครื่องหมายการค้า เคลด์เซน

พ.ศ. 2534 Photobucket จัดตั้ง บริษัท ทีเอฟ อินเตอร์ฟูดส์ (ยูเอสเอ) อินค์. (T.F. Interfoods (USA) Inc.) เพื่อบริหารธุรกิจต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 120 ล้านบาท

พ.ศ. 2535 Photobucket ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังถนนศรีนครินทร์ ในเดือนมิถุนายน, ร่วมทุนจัดตั้ง บจก.คุนหมิงไทตงยีฟูดส์ เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สำหรับจำหน่ายในสาธารณรัฐประชาชนจีน, ร่วมลงทุนกับ บจก.ไทซันฟูดส์ เพื่อผลิตน้ำผลไม้ และร่วมทุนจัดตั้ง บจก.ไดอิชิแพกเกจจิง เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับบริษัทในกลุ่ม

พ.ศ. 2536 Photobucket โรงงานศรีราชาได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในเดือนมีนาคม

พ.ศ. 2537 Photobucket แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม และร่วมลงทุนกับบริษัทสองแห่งคือ บริษัท นิสชินฟูดส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท ซีพีเอ็นเทอร์ไพรส์ฟูดส์ จำกัด เขตปกครองพิเศษฮ่องกง

พ.ศ. 2538 Photobucket ก่อสร้างโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใหม่ บนเนื้อที่ 37 ไร่ ที่จังหวัดลำพูน โดยได้รับสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน โรงงานแห่งนี้สามารถผลิตบะหมี่แบบซองได้จำนวน 14,256 ตันต่อปี และบะหมี่แบบถ้วยได้จำนวน 260 ตันต่อปี

พ.ศ. 2540 Photobucket บริษัทฯ เป็นรายแรกของประเทศไทย ที่ได้รับประกาศนียบัตร ระบบไอเอสโอ 9002 จากอาร์ดับเบิลยูทียูวี

พ.ศ. 2541 Photobucket พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยเสริมวิตามินเอ ธาตุเหล็ก และไอโอดีน ในผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มาม่า มาจนถึงปัจจุบัน และได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการบริหารงานคุณภาพ จากกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม

พ.ศ. 2542 Photobucket พัฒนาระบบการผลิตซองเครื่องปรุง จากแบบแยกเป็นแบบติดกัน, เปลี่ยนไปใช้เครื่องป้อนอัตโนมัติ เพื่อจัดชุดก้อนบะหมี่กับซองเครื่องปรุง แทนการใช้แรงงานมนุษย์, สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ และโรงงานศรีราชา ได้รับประกาศนียบัตร ระบบ ไอเอสโอ 14001 จาก เอสจีเอส ยาร์สลีย์ และเปลี่ยนชื่อการค้า สำหรับผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบ จาก "นิสชิน" เป็น "บิสชิน" ในเดือนสิงหาคม

พ.ศ. 2543 Photobucket ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสหมูน้ำตก, เพิ่มการลงทุนใน บจก.เพรซิเดนท์เดนิชฟูดส์ เป็นร้อยละ 99.99 จากเดิมร้อยละ 74 และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 180 ล้านบาท

พ.ศ. 2544 Photobucket ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสหมูต้มยำ และโป๊ะแตก, โรงงานลำพูน ขยายกำลังการผลิต จากวันละ 40 ตัน เป็น 80 ตัน โดยได้รับสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน เมื่อเดือนกรกฎาคม, ร่วมลงทุนใน บจก.เพรซิเดนท์ฟูดส์ (กัมพูชา) ในสัดส่วนร้อยละ 30 เพื่อผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในราชอาณาจักรกัมพูชา, ได้การรับรองมาตรฐาน เอชเอซีซีพี จาก เอสจีเอส ไทยแลนด์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน และมาตรฐาน อีเอฟเอสไอเอส สแตนดาร์ด สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม

พ.ศ. 2545 Photobucket ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่หยกกึ่งสำเร็จรูป รสเป็ดย่างชนิดแห้ง และ บะหมี่กี่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น, ร่วมลงทุนใน บริษัท ฟอร์พีเพิลฟูดส์ จำกัด (ผู้ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องหมายการค้า 4-Me ของนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือจีเอ็มเอ็มแกรมมี่) ในสัดส่วนร้อยละ 13 และเพิ่มการลงทุนใน บจก.ลี่ฟุ (ชิงเต่า) ฟูดส์ จากเดิมร้อยละ 19 เป็นร้อยละ 49 เป็นจำนวนเงิน 26.22 ล้านบาท

พ.ศ. 2546 Photobucket พัฒนาเว็บไซต์ให้ทันสมัยและชวนให้ติดตาม เพื่อประโยชน์ของการเผยแพร่ข่าวสารของบริษัทฯ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ สู่บุคคลทั่วไป และเริ่มนำระบบการจัดการสำเร็จรูป (SAP) มาใช้แทนระบบเดิม

พ.ศ. 2547 Photobucket ร่วมลงทุนใน บจก.ไทยอันเป่า ผลิตภัณฑ์กระดาษ

พ.ศ. 2549 Photobucket ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่โฮลวีตกึ่งสำเร็จรูป รสหมูพริกไทยดำ, เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นใน บจก.ไทซันฟูดส์ และ บจก.ไดอิชิแพกเกจจิง ขึ้นไปสูงกว่าร้อยละ 50

พ.ศ. 2550 Photobucket ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มแซบ, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคุณภาพสูง (พรีเมียม) รูปแบบเกาหลี ในชื่อสินค้า "มาม่า โอเรียนทัล คิตเชน", บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็ก สูตรไม่มีผงชูรส ในชื่อสินค้า "มาม่า ก้านกล้วย" และ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับชาวมุสลิม ในชื่อสินค้า "รุสกี", จากการสำรวจสุดยอดแบรนด์แห่งเอเชีย "มาม่า" เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ผู้บริโภคชาวเอเชียใน 9 ประเทศ นึกถึงเป็นอันดับที่ 115 และเป็นตราสินค้าที่คนไทยนึกถึง มากเป็นอันดับที่สอง

พ.ศ. 2551 Photobucket ออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคุณภาพสูง "มาม่า ซูเปอร์โบวล์" รสต้มยำขาหมู และ รสแกงกะหรี่หมู โดยบรรจุเนื้อหมูจริง ภายในซองรีถอร์ตอันทันสมัย, ย้ายฐานการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมปังทั้งหมด (บิสกิต เวเฟอร์ และ คุกกี) จากโรงงานที่ศรีราชา ไปยังโรงงานที่ระยอง ส่วนพื้นที่เดิมในโรงงานศรีราชา นำมาใช้เพิ่มกำลังการผลิตบะหมี่ถ้วย โดยใช้เครื่องจักรกำลังผลิตสูง

พ.ศ. 2552 Photobucket นำผลิตภัณฑ์ที่เคยผลิตในอดีต กลับมาออกใหม่คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสซุปไก่ และ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โปรตีนไข่

ปัจจุบัน Photobucket ทุนจดทะเบียน 240 ล้านบาท ประกอบด้วย หุ้นสามัญ 24 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 10 บาทต่อหุ้น เรียกชำระ 180 ล้านบาท


ลิ ภั ฑ์
รสครบรส (ปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว)
รสต้มยำกุ้งน้ำข้นบิ๊กแพ็ค (พ.ศ. 2554)
รสหมูสับต้มยำน้ำข้น (พ.ศ. 2554)
รสซุปไก่ (พ.ศ. 2516 / พ.ศ. 2552)
โปรตีนไข่ (ไม่มีข้อมูล / พ.ศ. 2552)
รสหมูสับ (ไม่มีข้อมูล)
รสต้มยำกุ้ง (ไม่มีข้อมูล)
รสเป็ดพะโล้ (ไม่มีข้อมูล)
รสเย็นตาโฟ (ไม่มีข้อมูล)
รสผัดขี้เมาแห้ง (ไม่มีข้อมูล)
รสหมูน้ำตก (พ.ศ. 2543)
รสหมูต้มยำ (พ.ศ. 2544)
รสโป๊ะแตก (พ.ศ. 2544 / ปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว)
รสข้าวซอย (ปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว)
บะหมี่หยกเป็ดย่างแห้ง (พ.ศ. 2545 / ปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว)
รสต้มยำกุ้งน้ำข้น (พ.ศ. 2545)
โฮลวีตรสหมูพริกไทยดำ (พ.ศ. 2549)
รสต้มแซบ (พ.ศ. 2550)
รสเย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ (พ.ศ. 2553)
รสหมูสับต้มยำน้ำข้น (พ.ศ. 2554)
รสเห็ดหอมเจ (พ.ศ. 2551)
รสต้มยำเจ (พ.ศ. 2551)
โอเรียนทัลคิตเชน รสหมี่โกเรง (พ.ศ. 2550)
โอเรียนทัลคิตเชน รสฮอตแอนด์สไปซี (พ.ศ. 2550)
โอเรียนทัลคิตเชน รสโกเรียนสไปซ์ (พ.ศ. 2550)
โอเรียนทัลคิตเชน รสหอยเป๋าฮื้อฮ่องกง (พ.ศ. 2550 / เฉพาะแบบถ้วย)
ซูเปอร์โบวล์ รสต้มยำขาหมู (พ.ศ. 2551)
ซูเปอร์โบวล์ รสแกงกะหรี่หมู (พ.ศ. 2551)
เย็นตาโฟต้มยำหม้อไฟ (พ.ศ. 2553)

No comments :

Post a Comment