แมงลัก เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา ลักษณะของต้นแมงลักจะคล้ายต้นกะเพรา ต่างกันที่กลิ่น และใบจะ มีสีเขียวอ่อนกว่า แมงลักมีชื่อเรียกตาม ท้องถิ่นว่า มังลัก (ภาคกลาง) ก้อมก้อขาว (ภาคเหนือ) ลำต้นสูงประมาณ 65 เซนติ เมตร มีกลิ่นหอมทุกส่วน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปร่างรี ขอบใบเรียบหรือหยักมน ดอกออกช่ออยู่ปลายยอด กลีบดอกมีสีขาวและร่วงง่าย ดอกจะออกรอบก้าน ช่อดอกจะออกเรียงเป็นชั้นๆ ผลเป็นผลชนิดแห้ง ภายในมี 4 ผลย่อย เรียกว่า เม็ดแมงลัก
แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียว กับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกง ต่างๆ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ แกงเลียง ถ้าไม่มีใบแมงลักจะไม่มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของแกงเลียงตามสูตรโบราณ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้
เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้ โดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า เม็ดแมงลักประกอบด้วยสารคาร์โบไฮเดรตหลายชนิด ซึ่งเป็นโมเลกุลใหญ่ และสารประกอบอื่นๆ บริเวณเปลือกนอกของเม็ดเป็นสารเมือก ซึ่งสามารถพองตัวได้ 45 เท่า และได้ มีการวิจัยพบว่าเม็ดแมงลักมีสรรพคุณเป็น ยาระบาย เพิ่มกากอาหารได้ และเมือกยังสามารถช่วยหล่อลื่นให้อุจจาระอ่อนตัว สามารถขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น
“แมงลัก” เป็นพืชล้มลุก อายุเฉลี่ย 1-2 ปี ลักษณะใบเล็กกลิ่นฉุน มีขนอ่อนสีขาวบริเวณก้านใบ และยอด ขึ้นได้ดีในที่ดอน ดินร่วนซุย สามารถปลูกได้โดยใช้กิ่งชำ หรือใช้เมล็ดเพาะเป็นต้นกล้า จากนั้น เมื่องอกได้ 1 เดือน จึงย้ายปลูกลงแปลงที่เตรียมดินไว้ และควรให้น้ำสม่ำเสมอวันละ 1 ครั้ง
ส่วนใบใช้ประกอบอาหารเช่นเดียว กับกะเพรา-โหระพา นิยมใส่แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ต้มยำ ลาบ และทานกับขนมจีน ให้รสหอมร้อน แก้หวัด และขับลม
ส่วน “เมล็ดแมงลัก” นอกจากจะใช้ทำเมนูขนมหลายอย่างแล้ว ในทางสมุนไพรยังสามารถช่วยบรรเทา “อาการท้องผูก” ได้ด้วย
โดยนำ “เมล็ดแมงลัก” 1 ช้อนชา แช่น้ำสะอาด 1 แก้ว (ประมาณ 250 ซีซี) ทิ้งไว้จนพองเต็มที่ แล้วดื่มก่อนนอน ทั้งนี้ อาจใส่น้ำตาลทรายเล็กน้อยเพื่อดื่มง่ายขึ้น สำหรับ “เมล็ดแช่น้ำดื่ม” จะช่วยเพิ่มกากอาหาร หล่อลื่นให้อุจจาระอ่อนตัว ทำให้ขับถ่ายสะดวก และระบบย่อยดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การทานผัก ผลไม้ และธัญพืชที่มีกากใย หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และให้เวลากับการขับถ่าย อย่ารีบเร่งจะช่วยพิชิตอาการ “ท้องผูก” ได้ถาวร ถือเป็นยาระบายชั้นดีที่สุดแล้ว
ที่มาข้อมูลและภาพ teenee.com
No comments :
Post a Comment