จาก ผลสำรวจสภาวะสุขภาพ ช่องปากของคนไทยโดยกรมอนามัยล่าสุดปี 2555 พบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาโรคฟันผุอยู่มาก โดยพบเด็กอายุ 12 ปี หรือประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสบการณ์เกิดโรคฟันผุถึงร้อยละ 52.3 ซึ่งปัญหาฟันผุในเด็กมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็กที่นิยมกิน อาหารหรือขนมที่หาซื้อได้ง่าย เช่น น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ นอก จากจะทำให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อ และสร้างปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร มีผลต่อน้ำหนัก การเจริญเติบโตและบุคลิกภาพของเด็ก ที่สำคัญคือส่งผลกระทบต่อการเรียน ทำให้เด็กหยุดเรียนและปัญหาฟันผุ นำไปสู่การสูญเสียฟันในวัยเด็ก และอาจสะสมจนต้องสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องรณรงค์ป้องกันอย่างต่อเนื่อง
ทั้ง นี้ กรมอนามัยได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินงานโครงการ สพป.อ่อนหวาน เป็นครั้งแรกในปี 2552 เพื่อสร้างการรับรู้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขต ดำเนินการตามนโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมให้มีความครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 ปี มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเป็น สพป.อ่อนหวาน จำนวน 79 แห่ง จากทั้งหมด 183 แห่ง
กลุ่ม ผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือการสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ โดยพบว่าร้อยละ 95 ของผู้สูงวัยมีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ส่วนหนึ่งสูญเสียฟันทั้งปาก ซึ่งกรมอนามัยได้ประสานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายที่เกี่ยว ข้องจัดบริการใส่ฟันเทียมทดแทนเพื่อการเคี้ยวอาหารภายใต้โครงการฟันเทียมพระ ราชทาน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีฟันมากกว่าครึ่งพบโรคในช่องปากที่ไม่ได้รับการรักษาและมีโอกาสสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น การส่งเสริมให้คนไทยดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็กจนเข้าสู่ วัยสูงอายุจะช่วยลดปัญหาสุขภาพ ช่องปากได้ ในขณะที่ผู้สูงอายุอีกส่วนหนึ่งก็ดูแลสุขภาพ ช่องปากเป็นอย่างดี
No comments :
Post a Comment