Wednesday, February 19, 2014

ทำความสะอาด แผลแห้ง-แผลเปียก อย่างถูกวิธี




เวลา เกิดอุบัติเหตุจนทำให้บาดเจ็บและเป็นแผล สิ่งที่จำเป็นอย่างมากก็คือ การทำแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค และยังถือเป็นการรักษาอาการบาดเจ็บด้วย ทว่าการทำแผลนั้นก็ต้องทำให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพแผล เพื่อให้แผลหายเร็ว และลดความเสี่ยงเกิดอักเสบติดเชื้อ
โดย แผลนั้น มี 2 ประเภท คือ แผลแห้ง เป็นแผลที่มีลักษณะปิด ไม่มีการอักเสบ และไม่มีสิ่งขับหลั่งออกมาจากแผล อีกประเภทเรียกว่า แผลเปียก มีลักษณะเป็นแผลเปิด มีการอักเสบ มีสิ่งขับหลั่งออกมาจากแผล เช่น เลือด น้ำหนอง
การ ทำแผลและการปิดแผลของแผลแห้งกับแผลเปียกจะต่างกัน ครั้งนี้ขอแนะวิธีทำแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุใกล้ตัว อาทิ หกล้มจนผิวหนังถลอก ถูกของมีคมบาด
เริ่มจากการทำแผลแห้ง ให้ใช้สำลีประมาณ 2-3 ก้อน หรือมากน้อยกว่านี้ตามขนาดของแผล ชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดลงที่แผลเบาๆ ด้วยเทคนิคเช็ดให้ชิดขอบแผลและวนออกนอกแผลให้ห่างออกไปอีกราว 2-3 นิ้ว จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก็อสที่ยึดกับผิวด้วยเทปกาวติดแผลหรือแผ่นพลาสเตอร์ โดยติดตามแนวขวางลำตัว
สำหรับการทำแผลเปียก เริ่มด้วยการเช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70% เช่นเดียวกับการทำแผลแห้ง ต่อด้วยการใช้สำลีชุบน้ำเกลือ บางครั้งเรียก โซเดียมคลอไรด์ ช่วยในการกระตุ้นการงอกขยายของเซลล์ใหม่และไม่ทำลายเนื้อเยื่อ หรือใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน กรณีที่เป็นแผลถลอก เนื่องจากสามารถฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส แต่ด้วยความเข้มข้นของทิงเจอร์ไอโอดีน อาจทำให้ผิวแสบไหม้ได้ ดังนั้น หลังจากใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเช็ดแผลผ่านไป 90 นาที ให้เช็ดตามด้วยแอลกอฮอล์ 70% เพื่อลดการระคายเคือง
หรือ อาจใช้เบตาดีนแทนทิงเจอร์ไอโอดีนได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ที่อ่อนกว่า และไม่ทำปฏิกิริยาต่อสิ่งขับหลั่ง กรณีที่แผลเปียกมีความสกปรกมาก และมีสิ่งขับหลั่งพวกหนองหรือลิ่มเลือด ควรใช้น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ในขั้นตอนการนำสำลีไปชุบน้ำยาที่กล่าวไปนี้ เพื่อเช็ดแผลก็เพื่อฆ่าเชื้อโรค ดูดซับสิ่งขับหลั่ง ให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ
ปิด ท้ายการทำแผลเปียกด้วยการใช้ผ้าก็อสหุ้มสำลีเพื่อซับสิ่งขับหลั่ง ยึดติดกับผิวหนังรอบๆ ด้วยเทปกาวติดแผลหรือแผ่นพลาสเตอร์ โดยติดตามแนวขวางลำตัวเช่นกัน.

No comments :

Post a Comment