ที่มาที่ไปจากใจขนมเค้ก
Cake มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) ว่า "kaka"
ประวัติเริ่มจากปี 1843 คุณอัลเฟรด เบิร์ด
(Alfred Bird 1811-1878) นักเคมีชาวอังกฤษได้ค้นพบ "ผงฟู" หรือ "baking
powder" ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ให้กับภรรยาของเขา
อลิซาเบธ (Elizabeth)
ได้เป็นครั้งแรกเนื่องจากภรรยาของเขาเป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับ ไข่ และ ยีสต์
ในราวศตวรรษที่ 13
มีการค้นพบหลักฐานการอบขนมเค้กขั้นแอดวานซ์ที่เก่าแก่ที่สุดจากชาวอียิปต์
โบราณโดยมักจะเป็นรสชาติของเค้กผลไม้ และGinger bread
รูปแบบเค้กทรงกลมที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เริ่มราวกลางศตวรรษที่ 17 ในยุโรป
ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของเตาอบ แบบพิมพ์ขนมและน้ำตาลทราย
รสชาติที่นิยมก็ยังเป็นรสผลไม้้
ย้อนหลังจากวันนี้ไปประมาณ 60 ปี
ธุรกิจขนมอบในเมืองไทยไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน
จนไม่อาจเรียกว่าเป็นธุรกิจได้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้
ก็ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป
จะมีก็เพียงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับอารยธรรมตะวันตกมาก่อน
และผู้ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยที่
รู้จักขนมอบ และมีร้านขนมอบเพียงไม่กี่ร้าน
เพราะธุรกิจขนมอบในสมัยนั้นแคบมาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ต่อมาคนไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ
เริ่มรู้จักขนมอบมากขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
ประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆ
มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น
มีชาวต่างประเทศเข้ามาเมืองไทยทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว
ทำให้ธุรกิจโรงแรมขยายตัว จึงต้องผลิตอาหารประเภทขนมอบชนิดต่าง ๆ
ขึ้นเช่นขนมปัง เค้ก
เพสตรี้เพื่อบริการลูกค้าชาวต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยอาหารไทย
และนอกจากจะผลิตเพื่อบริการลูกค้าแล้ว
โรงแรมยังมีบริการรับจัดเลี้ยงให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
โดยมีการจัดประชุมสัมมนา งานพิธีมงคลสมรส งานวันเกิด
และการจัดเลี้ยงสังสรรค์
ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ขนมอบจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็มีร้านเบเกอรี่ที่ผลิตขนมปัง
ขนมเค้ก ขนมต่าง ๆ ออกขาย
ธุรกิจขนมอบเริ่มจัดว่าเป็นธุรกิจได้เมื่อสมัยสงครามเวียดนาม ประมาณ 30
กว่าปีมาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นที่พักของทหารอเมริกัน
ช่วงนั้นกิจการขนมอบเริ่มขยายตัวมากขึ้น
เนื่องจากความต้องการอาหารประเภทนี้สูง
จนถึงกับมีผู้คิดโรงโม่แป้งสาลีขึ้นในประเทศไทย
และต่อมามีโรงโม่แป้งสาลีเพิ่มขึ้นอีก 23
แห่งแต่ละโรงโม่ก็ผลิตแป้งสาลียี่ห้อต่าง ๆ
ออกจำหน่ายพร้อมกับมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์
จัดการฝึกอบรมแนะนำลูกค้าผู้ใช้แป้งสาลีและผู้ประกอบกิจการขนมอบซึ่งมี
ปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เพื่อให้สามารถนำแป้งไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง
นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง
ธุรกิจขนมอบก็ยังดำเนินต่อไป และขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
คนไทยเริ่มบริโภคขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ พาย พัฟ ฯลฯ
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้น
นักธุรกิจหลายรายเริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจนี้
เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบเข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทย
มากขึ้น
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนของเอกชน ที่เปิดสอนด้านขนมอบ
ได้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมอบมากขึ้น
พร้อมกับมีตำราการฝึกปฏิบัติทำขนมอบ
มีประชาชนให้ความสนใจมาฝึกอบรมรับความรู้ เพื่อไปประกอบเป็นอาชีพ
หรือทำบริโภคเองภายในครอบครัว
No comments :
Post a Comment